ความตื่นเต้นดูราวจะอบอวลในอากาศเมื่อสยามก้าวเร่งรุดไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง หัวรถจักรไอน้ำพาเราเดินทางจากบางกอกไปยังหัวเมืองต่างๆ ตามทางรถไฟที่เริ่มแผ่ขยายออกไปจากพระนคร
กิจการรถไฟแรกมีในสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์โดยเชื่อมโยงระบบและเส้นทางทั้งหมดให้เป็นโครงข่ายเดียวกัน
การสร้างทางรถไฟนี้สะท้อนอิทธิพลของตะวันตกทั้งในเชิงกายภาพและแนวคิดอุดมคติ เห็นได้ชัดเจนจากการนำเข้าวัสดุและวิทยาการจากตะวันตกเพื่อใช้ในการสร้างทางรถไฟ อย่างไรก็ดี อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและลึกซึ้งกว่านั้นคือ การสร้างทางรถไฟเป็นประจักษ์พยานของสำนึกเรื่อง “รัฐชาติ” อันเป็นแนวคิดจากตะวันตกซึ่งมีอิทธิพลต่อชนชั้นปกครองของเอเชียในสมัยนั้น ในอันที่จะเชื่อมหัวเมืองใหญ่น้อยเข้ากับเมืองหลวงอันเป็นศูนย์กลาง เพื่อเสริมสร้างการปกครองแบบรวมศูนย์ ทั้งในเชิงวัฒนธรรมและการบริหารบ้านเมือง สยามประเทศจึงเริ่มกลายเป็นรัฐที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ขยายออกจากพระนคร
ท่ามกลางสารพันความทันสมัยและความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายทั้งมวล ชาวสยามก็ยังคงดำเนินชีวิตประจำวันต่อไป คร่ำเคร่งกับเอกสารต่างๆ ในที่ทำงาน แล้วก็ไปพักผ่อนหย่อนใจด้วยการชมภาพยนตร์ฝรั่งที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย

จตุตถบรรพ

รหัสภาพ